เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

“หนอนด้วงหนวดยาว” เจาะลำต้นในทุเรียน

ลักษณะการทำลาย ของ“หนอนด้วงหนวดยาว” เจาะลำต้นในทุเรียน

    ตัวเมียวางไข่ในเวลากลางคืนโดยบินมาเกาะต้นทุเรียนและไต่หาตำแหน่งที่เหมาะสมตามลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ในสวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่างๆ ในต้นทุเรียน เฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น

 

 

    ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านใน หรืออาจกัดควั่นเปลือกรอบต้น ขณะหนอนยังเล็กอยู่สังเกตแทบไม่เห็นร่องรอยการทำลาย แต่เมื่อหนอนโตขึ้นจะพบขุยไม้ละเอียดซึ่งเป็นมูลของหนอนบริเวณรอยทำลาย เกษตรกรจะสังเกตเห็นก็ต่อเมื่อหนอนโตและอาจเจาะเข้าเนื้อไม้ หรือกินควั่นรอบต้นทุเรียนแล้ว ซึ่งจะมีผลทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ทุเรียนเริ่มทรุดโทรม ใบร่วง และยืนต้นตายได้ เนื่องจากตัวเต็มวัยมีอายุขัยยาว ทำให้ช่วงระยะเวลาการวางไข่นาน ในต้นหนึ่งๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก

 

 

หนอนกัดควั่นเปลือกรอบต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกทำลาย

 

การป้องกันกำจัด

    แหล่งที่มีการระบาดรุนแรงให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงชนิดดูดซึม เช่น ฟิพเปอร์ อัตรา 30 ซีซี หรือ สตรัค อัตรา 30 กรัม หรือ แมมมอท อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร โดยใช้อัตราน้ำ 5 ลิตร/ต้น พ่นให้โชกเฉพาะบริเวณลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน ในแหล่งที่มีการระบาดรุนแรง อาจต้องพ่นสารทุกๆ 3 เดือน



วิธีสั่งของออนไลน์