เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

หนอนเจาะมะเขือ

     หนอนเจาะมะเขือ (Leucinodes orbonalis Guenee) จะสร้างความเสียหายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มปลูก โดยหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในลำต้นตั้งแต่เริ่มฟักออกจากไข่ จะพบรูเจาะทำให้ยอดเหี่ยว เนื่องจากท่อน้ำท่ออาหารของต้นมะเขือถูกทำลาย ไม่สามารถส่งอาหารไปเลี้ยงยอดได้ พบการทำลายต่อยอดสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ยอดที่แข็งแรงถูกทำลาย ยอดใหม่ที่แตกออกมามีขนาดเล็ก หากระบาดรุนแรง จะทำให้มะเขือไม่มีดอกและไม่สามารถสร้างผลผลิตได้ เนื่องจากยอดถูกทำลายจนหมด

    ระยะติดผล หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินผลได้เช่นกัน ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพ ส่งจำหน่ายไม่ได้ ส่วนใหญ่เข้าทำลายมะเขือเปราะ

การป้องกันกำจัด

     พบการระบาดทั่วประเทศในบริเวณที่มีการปลูกมะเขือ และพบการทำลายยอดมากในฤดูฝน ส่วนผลถูกทำลายมากในฤดูแล้ง พืชอาหาร มะเขือชนิดต่าง ๆ ยกเว้น มะเขือเทศ

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

1. เก็บยอดและผลที่ถูกหนอนเจาะ ทำลายทิ้งทั้งที่มีหนอนและไม่มีหนอน

2. สำรวจการเข้าทำลายสม่ำเสมอ หากพบอาการยอดเหี่ยว 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือผลอ่อนถูกทำลาย 5-10 เปอร์เซ็นต์ ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ได้แก่ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี หรือ คอลลิ่ง 10 ซีซี หรือ ไซปรอย35 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่ในช่วงเก็บผลผลิตแนะนำให้ใช้สารเคมีในกลุ่มปลอดภัย ได้แก่ ไฮ-นิว20 อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์