เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนชาวนา ระวัง “โรคเน่าคอรวง”

โรคเน่าคอรวงของข้าว

    “โรคเน่าคอรวง” เป็นอาการหนึ่งของโรคไหม้ในข้าว ซึ่งจะเกิดในระยะข้าวออกรวง เมื่อข้าวเริ่มสร้างรวงถึงระยะแทงรวงออกมาแล้ว หากถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก ส่งผลให้ผลผลิตเสียหายมาก

 

 

 

    สภาพที่เหมาะสมต่อการระบาดคือ แปลงนาที่ต้นข้าวหนาแน่นอับลม  มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 oC ลมแรง จะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี

 

 

การป้องกันกำจัด

  1. ควรปลูกพันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น สพ.1,2 ชัยนาท1 พล.1 สุรินทร์1 เหนียวอุบล1 สันป่าตอง1 หางยี1 ดอกพยอม เป็นต้น
  2. ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำให้ใช้

      ระยะข้าวตั้งท้อง พ่นสารป้องกัน เช่น เบนเอฟ 20 ซีซี หรือ รัสโซล 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

      ระยะข้าวเริ่มแทงรวง พ่นสารป้องกันด้วย  แอพโพช 15 ซีซี หรือ แซสซี่ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร



วิธีสั่งของออนไลน์