404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.

เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย : เพลี้ยหอยเกล็ดมันสำปะหลัง

ลักษณะและการเข้าทำลาย

     เพลี้ยหอยเกล็ดที่เข้าทำลายมันสำปะหลังมีหลายชนิด เช่น เพลี้ยหอยเกล็ดขาว (Aonidomytilus albus) เพลี้ยหอยเกล็ดดำ (Saissetia miranda) จะพบการระบาดของเพลี้ยหอยเกล็ดในแปลงที่ใกล้เก็บเกี่ยว หรือพบในต้นมันสำปะหลังที่กองสุมไว้ทำพันธุ์ โดยเพลี้ยหอยเกล็ดมีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมเกือบทุกส่วนของมันสำปะหลัง ทั้งส่วนยอด ลำต้น กิ่ง เหง้า และหัว

     หากมีการปลูกมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยหอยเกล็ดติดไปกับท่อนพันธุ์ การระบาดในแปลงจะมีความรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยเพลี้ยหอยเกล็ดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆของพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วง ต้นแคระแกร็น หากมีเพลี้ยหอยเกล็ดปกคลุมทั้งลำต้น จะทำให้ลำต้นแห้งตายได้

ที่มาภาพ : ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

การป้องกันกำจัด

  1. เลือกต้นมันสำปะหลังที่ไม่มีเพลี้ยหอยเกล็ดไปทำพันธุ์
  2. แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก แนะนำ (เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ ไอมิด้า 40 กรัม) + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตรแช่ท่อนพันธุ์ 10 นาที กำจัดเพลี้ย พร้อมกระตุ้นการงอก กระตุ้นการแตกใบอ่อน
  3. หมั่นสำรวจแปลงอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุก 1-2 สัปดาห์ หากเริ่มพบการทำลาย พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด แนะนำ อะวอร์ด40เอสซี 150 ซีซี + (ดีฟีส50 400 ซีซี หรือ ไอมิด้า 40 กรัม หรือ ฟินิช 300 ซีซี หรือ เท็นสตาร์ 100 ซีซี หรือ เวนเวิร์ธ 300 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 300 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร
  4. ควรถอนต้นที่มีการระบาดมากไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดในแปลง

หมายเหตุ

     – เพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารกลุ่มเดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ครั้ง

     – เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสาร ควรผสมคัพเวอร์กรีน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมสารทุกครั้ง

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen