เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ฝนตก อากาศชื้น ระวัง!! โรคไหม้ ในนาข้าว

          โรคไหม้ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea Sacc. สามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว โรคจะ
เกิดขึ้นและแพร่ระบาดได้รุนแรง ถ้ามีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม คือ
          1. พันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรค ซึ่งได้แก่ ขาวตาแห้ง กข 6 ข้าวหอมมะลิ105 และบางสายพันธุ์ เช่น สุพรรณบุรี 1
              สุพรรณบุรี60 และชัยนาท เป็นต้น
          2. ความชื้นค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 90% ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงบ่ายถึงเช้าวันรุ่งขึ้น
          3. อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
          4. ข้าวหนาแน่น และมีการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูง
 
        
 
         ลักษณะอาการ
         ระยะกล้า ใบจะมีแผลจุดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล มีขนาดแตกต่างไป ความ
กว้างระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร จุดแผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกัน
ทั่วบริเวณใบ ในกรณีที่โรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้ง และฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)
         ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้นขนาดของแผลจะใหญ่
กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณ ข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และใบมักหลุดจาก
กาบใบเสมอ
        ระยะคอรวง ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อรานี้เข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าว
แก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
 
         
         
        
         
           การป้องกันและกำจัด
           1. ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมแต่ละท้องที่ ปัจจุบันพันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทาน ได้แก่ กข1 กข9 กข11 และ กข21
                สุพรรณบุรี 1 และคลองหลวง 1
           2. ใช้สารป้องกันกำจัดที่แนะนำ อะซอกซีสโตรบิน 100 ซีซี หรือ รัสโซล 100-150 ซีซี หรือ แอพโพช 150 ซีซี
                หรือ ไอโซโพรไทโอเลน 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร
 
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife


วิธีสั่งของออนไลน์