เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

เชื้อสาเหตุ : Phytophthora palmivora

ลักษณะอาการ

         ใบทุเรียนจะไม่เป็นมันสดเหมือนใบทุเรียนปกติ ต่อมาใบล่างๆ จะเริ่มเป็นจุดประเหลือง กลายเป็นสีเหลืองซีดในที่สุด แล้วค่อยๆ หลุดร่วงไป ต้นทรุดโทรมแล้วตาย

 

 

     อาการเน่าที่โคนต้นหรือกิ่ง จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะติดเห็นได้ชัดในสภาพที่ต้นทุเรียนแห้ง ในช่วงเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้นจะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลปูดออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้นหรือกิ่งและน้ำยางนี้จะค่อยๆ แห้งไปในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบน้ำจับบนเปลือกของลำต้น เมื่อเปิดเปลือกของลำต้นบริเวณที่มีคราบน้ำยางออกบางๆ ด้วยมิดหรือสิ่วๆ จะเห็นเนื้อเยื่อเปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเข้ม ส่วนอาการเน่าที่เกิดกับรากเล็กหรือรากฝอยนั้น เนื้อเยื้อรากจะเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบาๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย

 

 

แนะนำการป้องกันกำจัด

         1.หากพบการระบาดสารป้องกันกำจัดที่ ยูนิไลฟ์แนะนำ คัพเวอร์กรีน 100 ซีซี + นีโอไฟต์ 300 ซีซี + สับรา 300 กรัม + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ เพื่อรักษาและยับยั้งการลุกลามของเชื้อไฟท๊อปเธอร่า พร้อม กระตุ้นให้ทุเรียนสร้างเนื้อเยื่อใหม่ พ่นติดต่อกัน 2-3 ครั้งห่างกัน 7-10 วัน หากพบมอด ด้วงหนวดยาว เพลี้ยหอยเกร็ดให้ใช้ แมมมอท 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร  กำจัดแมลงร่วมด้วย 

        2.ฟื้นฟูระบบราก เพื่อรักษาและกำจัดเชื้อราในดิน พร้อมกระตุ้นการสร้างรากใหม่ด้วย ยูโอนิกซ์ 300 ซีซี + นีโอ-ไฟต์ 300 ซีซี + เมทาแลกซิล 300 กรัม ต่อน้ำ  200  ลิตร ฉีดพ่นลงดินบริเวณรอบชายพุ่มและโคนต้นให้เปียกโชก ทำ 2-3 ครั้งห่างกัน 10-15 วัน ทำจนกว่าทุเรียนจะมีรากใหม่

 

หลังใช้ ทุเรียนเกิดรากใหม่ ฟื้นฟูต้น ต้นสมบูรณ์

 



วิธีสั่งของออนไลน์