เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคใบไหม้ข้าว

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.

      โรคไหม้สามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว โรคไหม้จะเกิดขึ้นและแพร่ระบาดได้รุนแรง ถ้ามีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม คือ

      1.ใช้พันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรค ได้แก่ ขาวตาแห้ง และ กข 5 เป็นต้น

      2.ความชื้นค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 90% ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงบ่ายถึงเช้าวันรุ่งขึ้น

      3.อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส

      4.ข้าวหนาแน่น และใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูง

ลักษณะอาการ

     ระยะกล้า ใบจะมีแผลจุดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล มีขนาดแตกต่างกัน ความกว้างระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร จุดแผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบ ในกรณีที่โรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้ง และฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)

    ระยะแตกกอ จะพบได้ที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลจะลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ

    ระยะคอรวง ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เชื้อรานี้จะเข้าทำลายจนเมล็ดลีบ แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้เปราะ หักพับง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายอย่างมาก

การป้องกันและกำจัด

     1.ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมแต่ละท้องที่ ปัจจุบันพันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทาน ได้แก่ สุพรรณบุรี60 พิษณุโลก 60 ข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวเหนียวกข18 ข้าวเหนียวธัญสิริน

    2.ไม่หว่านกล้าหนาแน่น ซึ่งอัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมคือ 15 -20 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สูงเกินไป

    3.ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ใช้ มิลล่า 300 ซีซี หรือ แซสซี่ 100 ซีซี หรือ อินดีฟ 100-150 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์