ฟ้าทะลายโจร Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees
มีสาร “แอนโดรกราโฟไลค์” (Andrographolide) ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ในทุกระยะและช่วยยับยั้งการอักเสบ และมีสารประกอบ Lactone 4 ชนิด มีฤทธิ์เย็นหนืด ช่วยจับโปรตีนของไวรัสให้อยู่กับที่ ทำให้ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรต้านไวรัสได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะได้ นอกจากนี้ฟ้าทลายโจรยังช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ช่วยรักษาอาการไอ เจ็บคอป้องกันและบรรเทาหวัดได้อีกด้วย
ฟ้าทลายโจร
● เติบโตได้ดีในดินทุกประเภท มีรากที่ยาวทำให้ทนแล้งได้ดี
● เติบโตได้ในทุกฤดูกาล ทั้งในที่โล่งแจ้งหรือมีแสงรำไร
● ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพื้นที่น้ำท่วมหรือเปียกชื้นตลอดปี
● ชอบดินร่วนซุย ที่มีการระบายน้ำดี และมีการให้น้ำอย่างเพียงพอ
ตัวอย่างพันธุ์ที่นิยมปลูก
● พันธุ์พิษณุโลก 5-4
● พันธุ์พิจิตร 4-4
การเก็บเกี่ยว
● สามารถเก็บเกี่ยวส่วนใบ หรือเก็บเกี่ยวทั้งต้นได้
● ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์
● ฟ้าทะลายโจรจะมีอายุประมาณ 110-150 วัน เป็นช่วงที่มีสารสำคัญมากที่สุด
แหล่งที่มา :
● กรมสุขภาพจิต, 2564
● นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 545 ปีที่ 23 16 มิถุนายน 2564
● การผลิตฟ้าทลายโจร กรมวิชาการเกษตร, 2564