404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.

เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคถอดฝักดาบในข้าว

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg

ลักษณะอาการ

     พบโรคในระยะกล้า ถ้าอาการรุนแรงต้นกล้าจะแห้งตาย แต่มักพบในข้าวอายุเกิน 15 วัน ระยะเริ่มแตกกอ ข้าวที่เป็นโรคจะมีอาการต้นผอมสูงเด่นกว่าต้นข้าวทั่วๆไป นอกจากนี้ต้นข้าวจะมีสีเขียวอ่อนซีด มักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้อง แต่รากจะเน่าช้ำ เวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงอาการหลังจากย้ายไปปักดำ 15-45 วัน และเกิดรากแขนงที่ข้อลำต้นตรงระดับน้ำ บางครั้งพบเส้นใยสีชมพูตรงบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะตาย และมีน้อยมากที่อยู่รอดจนถึงออกรวง

ต้นข้าวเป็นโรคจะผอมสูง สีเขียวอ่อนซีดกว่าข้าวทั่วไป

เชื้อราเกิดที่ข้อของต้นข้าว

การแพร่ระบาด

     เชื้อราจะติดไปกับเมล็ด สามารถมีชีวิตในซากต้นข้าวและในดินได้เป็นเวลาหลายเดือน และหญ้าชันกาดเป็นพืชอาศัยของโรค

การป้องกันกำจัด

  1. หลีกเลี่ยงการนำเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เคยเป็นโรคระบาดมาปลูก
  2. คลุกเมล็ดหรือแช่เมล็ดเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนนำเมล็ดไปหว่าน

          – คลุกเมล็ดแนะนำ ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 30 กรัม ต่อเมล็ด 10 กิโลกรัม

          – แช่เมล็ดด้วย ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

  1. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดฉีดพ่นทางใบ แนะนำ มิลล่า 30 ซีซี หรือ อินดีฟ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. ควรถอนและเผาต้นที่เป็นโรคทิ้ง เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปตกบนรวงข้าวอื่นได้

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen