404 Not Found

404

Not Found

The resource requested could not be found on this server!


Proudly powered by LiteSpeed Web Server

Please be advised that LiteSpeed Technologies Inc. is not a web hosting company and, as such, has no control over content found on this site.

เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

โรครากเน่าโคนเน่า  เกิดจากเชื้อราหลายชนิด ได้แก่ ไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora), พิเทียม (Pythium spp.) ไฟโตพิเทียม (Phytopythium spp.) และฟิวซาเรียม (Fusarium spp.)

ลักษณะอาการ

     เริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขูดดูบริเวณรากจะพบการแตกรากฝอยมากผิดปกติ แสดงอาการเน่า เปลือกล่อนหรือรากถอดปลอก เปื่อยยุ่ยขาดง่าย รากสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เนื้อเยื่อด้านในเป็นสีน้ำตาลดำ

ระบบรากเสียหาย ท่อน้ำท่ออาหารเสียหาย แสดงอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรมและยืนต้นตายได้

     เมื่อรุนแรงจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น หรืออาจลุกลามขึ้นลำต้น แผลสีน้ำตาลไปจนถึงสีน้ำตาลปนม่วง ฉ่ำน้ำ สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้น อาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงเยิ้มออกมาจากแผล และค่อยๆแห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบจะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล หากแผลใหญ่ลุกลามรอบโคนต้นจะทำให้ต้นโทรม ใบร่วงหมดต้นและยืนต้นตายได้ ต้นที่ถูกทำลายมักพบรูพรุน ซึ่งเป็นการเข้าทำลายของมอด และมอดจะเป็นตัวการในการแพร่กระจายเชื้อไปยังส่วนอื่นของต้นต่อไป

อาการรากเน่า เปื่อยยุ่ย หลุดร่อนง่าย เนื้อเยื่อภายในสีน้ำตาลดำ / เนื้อเยื่อภายในเสียหาย

การแพร่ระบาด

     เชื้อจะแพร่กระจายในอากาศไปตามลม ไปตามน้ำและฝน เนื่องจากเชื้อราสร้างสปอร์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปตามน้ำได้เรียก ซูโอสปอร์ (zoospore) และสร้างสปอร์ที่สามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานานเรียกว่าคลาไมโดสปอร์ (chlamydospore) เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็สามารถงอกเส้นใยเข้าทำลายพืชได้ ระบาดได้ดีช่วงที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด

     1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง

     2. ปรับปรุงสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดด่างของดินประมาณ 6.5 โดยการใช้ ปุ๋ยยูโอนิกซ์ อยู่เสมอจะส่งเสริมให้ดินไม่เป็นกรด และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ในการแข่งขันกับเชื้อก่อโรค

     3. กระตุ้นการเกิดรากใหม่ทดแทนรากเดิมที่เสียหายด้วย ยูโอนิกซ์ 300 ซีซี + ยูเฟียต 300 ซีซี ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคทางดิน มิลล่า 300 ซีซี หรือ ซับลา 300 กรัม หรือ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นหรือราดทางดินรอบชายพุ่ม 2-3 ครั้ง ห่างกันทุก 10-15 วัน

     4. กรณีรอยแผลเล็ก ถากแผลบริเวณที่เป็นโรคออกเล็กน้อยให้แผลเรียบ แล้วทาแผล ด้วย คัพเวอร์กรีน 10 ซีซี + (ซับลา 50 กรัม สลับ อินดีฟ 10 ซีซี สลับ ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 50 กรัม สลับ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 30 ซีซี) ร่วมกับการกำจัดมอดและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ด้วย ฟิพเปอร์ 50 ซีซี + ซีวิว 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ทาบริเวณแผลทุก 7-10 วัน จนกว่าแผลจะหยุดลุกลาม หากมีฝนตกชุกหรือความชื้นสูงควรทาให้ถี่ขึ้น

     5. กรณีรอยแผลใหญ่หรือสูง ถากแผลบริเวณที่เป็นโรคออกเล็กน้อยให้แผลเรียบในบริเวณที่ถากถึง แล้วฉีดพ่นด้วย คัพเวอร์กรีน 100 ซีซี + (ซับลา 300 กรัม สลับ อินดีฟ 100 ซีซี สลับ ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 400 กรัม สลับ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 300 ซีซี) ร่วมกับการกำจัดมอดและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ด้วย ฟิพเปอร์ 300 ซีซี + ซีวิว 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นอาบโชกทั่วลำต้นทุก 7-10 วัน จนกว่าแผลจะหยุดลุกลาม หากมีฝนตกชุกหรือความชื้นสูงควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น

แหล่งข้อมูล: โรคในทุเรียน กรมวิชาการเกษตร / เอกสารประกอบการอบรมรู้จักโรคในทุเรียน รศ.ดร.รัติยา พงศ์พิสุทธา และการจัดการสวนทุเรียนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค รศ.ดร.ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล (2566)

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์
Designed By: josen