เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

ระวัง….พืชขาดแคลเซียมโบรอน

     ธาตุอาหารแคลเซียมและโบรอน มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความแข็งแรงของเซลล์พืช การพัฒนายอด การพัฒนาราก การผสมติดของเกสรการเคลื่อนย้ายสารอาหารจากการสังเคราะห์แสงไปสู่ส่วนต่างๆ การสร้างปริมาณและคุณภาพผลผลิต

ลักษณะอาการพืชขาดธาตุแคลเซียม-โบรอน

     ยอดไม่พัฒนา รากสั้น การผสมเกสรน้อย ติดผลน้อย ขั้วไม่แข็งแรง ขั้วแตก ดอกและผลหลุดร่วงง่าย ผลแตก หัวแตก ลำต้นแตก ก้นผลเน่า กุ้งแห้งเทียม เนื้อแก้วยางไหล เมล็ดไม่เต็มฝัก เต่าเผา ไส้ล้ม ไส้กลวง โรคแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ความคงทนและอายุการเก็บรักษาผลผลิตไม่นาน

การขาดแคลเซียมโบรอนเกิดจาก 2 สาเหตุ

  1. สภาพกรด-ด่างของดิน

ค่าพีเอชที่เหมาะสำหรับพืชส่วนใหญ่คือ 5.5-6.5 หากดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป แคลเซียมโบรอนไม่สามารถละลายออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ได้ พืชจึงแสดงอาการขาดแคลเซียมโบรอน

ดินกรด

ดินด่าง

  1. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ร้อนจัด หนาวเย็น ฟ้าปิด ฝนตก ลมแรง เนื่องจากแคลเซียมโบรอนเคลื่อนย้ายในท่อน้ำ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมพืชจะปิดปากใบ ไม่คายน้ำ จึงไม่สามารถดึงแคลเซียมโบรอนจากดินไปใช้ประโยชน์ได้ พืชจึงแสดงอาการขาดแคลเซียมโบรอน

สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

การป้องกันแก้ไข

  1. หมั่นเสริมธาตุอาหารแคลเซียม-โบรอน ให้กับพืชเป็นประจำ โดยการใช้ ยูแคลมิกซ์ หรือ หากพบว่าพืชแสดงอาการขาดแคลเซียม-โบรอน ให้ฉีดพ่น ยูแคลมิกซ์ ทุกๆ 3-5 วัน อย่างน้อย 2-3 ครั้ง หรือจนกว่าพืชจะกลับมามีอาการตามปกติ

เครื่องมือฉีดพ่นทั่วไป

ข้าว ข้าวโพด ไม้ผล 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

อ้อย มันสำปะหลัง พืชผัก 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ผักกินหัว มันฝรั่ง ตระกูลหอม 60-80 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

โดรน

ยูแคลมิกซ์ 1 ลิตร  ต่อพื้นที่ 10-15 ไร่

ควรผสมสารเสริมประสิทธิภาพ คัพเวอร์กรีน ด้วยทุกครั้ง

เพื่อแก้ปัญหาน้ำกระด้าง ป้องกันการตกตะกอน ป้องกันใบพืชไหม้

 

  1. ดินที่มีสภาพความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม จนอาจทำให้เกิดการถูกตรึงในดิน พืชไม่สามารถดูดซึมขึ้นมาใช้ได้ จึงต้องปรับปรุงโครงสร้างดินด้วย ไบโอ-ซอย หรือ ยูโอนิกซ์ และเลือกใช้ปุ๋ยที่ไม่ทำให้ดินเป็นกรด อย่าง ปุ๋ยยูโอนิกซ์  เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์