เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

หนอนกระทู้ผัก บุกทำลายสวนพริก

     หนอนกระทู้ผัก Spodoptera litura (Fabricius)ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กลางวันจะเกาะนิ่งบริเวณใต้ใบพืช เริ่มออกหากิน ผสมพันธุ์ และวางไข่เป็นกลุ่มๆใต้ใบพืชเวลากลางคืน ตัวเมียหนึ่งตัวจะวางไข่ได้ประมาณ 2,000-4,000 ฟอง ในเวลาประมาณ 5-7 วัน ลักษณะไข่ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีฟางข้าว (ไข่ 3-4 วัน)

 

 

 

 

     เมื่อหนอนวัยแรกฝักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวสีเขียวอมเหลือง หัวสีดำ แทะกินผิวใบพืช หากถูกรบกวนจะทิ้งตัวลงที่ต่ำ หนอนวัย 2-4 จะเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อออกหากิน กระจายตัวทำลายพืชทั่วทั้งแปลง หนอนวัย 5 จะโตเร็วมาก ตัวเปลี่ยนเป็นสีเทา และมีแถบสีดำพาดตามยาว ระยะนี้หนอนจะซ่อนตัวในเวลากลางวัน และหากินในเวลากลางคืน หนอนวัย 6 เป็นวัยสุดท้าย ลักษณะอ้วนกลม กินจุ กัดกินใบพืชอย่างรวดเร็ว กัดกินทั้งใบ ก้าน ดอก และผล สร้างความเสียหายได้มาก (หนอน 10-15 วัน) จากนั้นจะเข้าดักแด้โดยใช้ดินทำรัง ระยะดักแด้ประมาณ (ดักแด้ 7-10 วัน) จึงฟักเป็นตัวเต็มวัย (ตัวเต็มวัย 5-10 วัน) และพบการระบาดได้ตลอดทั้งปี

 

 

ลักษณะไข่

 

หนอนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในระยะแรก

 

เมื่อหนอนโตเต็มที่ จะกระจายตัวทั่วแปลงกัดกินทำลายพืชปลูก

 

     นอกจากนี้ยังเข้าทำลายพืชได้อีกหลายชนิด ได้แก่ ผักคะน้า ตระกูลกะหล่ำ ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว หอมแดง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว องุ่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง กุหลาบ ดาวเรือง กล้วยไม้ เป็นต้น

 

 

สภาพใบเสียหายจากหนอนเข้าทำลาย

 

หนอนทิ้งตัวเมื่อถูกรบกวน

 

การป้องกันกำจัด

  1. ควรไถตากดิน เก็บเศษซากพืชเพื่อกำจัดดักแด้ เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายทิ้งนอกแปลง ลดการระบาด แหล่งสะสมและขยายพันธุ์
  2. เมื่อเริ่มพบตัวเต็มวัย ป้องกันด้วย วอเดอร์ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยคุมไข่ ทำให้ตัวเต็มวัยวางไข่น้อยลง
  3. ใช้สารกำจัดแมลง เมื่อเริ่มพบหนอนเข้าทำลาย แนะนำ คอลลิ่ง 20 ซีซี หรือ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี หรือ ไฮ-นิว20 30 ซีซี ร่วมกับ วอเดอร์ 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยยับยั้งการลอกคราบของหนอน ตัดวงจรชีวิต ลดการระบาดของแมลงในกลุ่มหนอนโดยเฉพาะ
  4. พ่นซ้ำตามการระบาด ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็ก หากมีการระบาดมากให้ใช้สารในอัตราสูงขึ้นและเพิ่มช่วงการพ่นให้ถี่ขึ้น ควรพ่นสลับกลุ่มสาร (พ่นแต่ละกลุ่มสารติดต่อกันไม่เกิน 2-3 ครั้ง) เพื่อหลีกเลี่ยงการดื้อยาของหนอน

แหล่งข้อมูล : การจัดการแมลง-ไร ศัตรูพริกที่สำคัญ (สวพ. กรมวิชาการเกษตร)

           : สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอ่างทอง

           : ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์