เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย เพลี้ยไฟพริก

ลักษณะการเข้าทำลาย

    สามารถพบได้ในระยะที่ต้นพริกออกดอกและติดผล เริ่มแรกจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยง จากยอด ใบอ่อน ตาดอก และดอก ทำให้ใบหรือยอดอ่อนหงิก ขอบใบหงิกหรือม้วนขึ้นด้านบน ถ้าเพลี้ยไฟพริกเข้าทำลายในระยะที่ต้นพริกออกดอก จะส่งผลทำให้ดอกพริกร่วงไม่ติดผล ส่วนการเข้าทำลายในระยะติดผล จะทำให้รูปทรงของผลพริกบิดงอ หากระบาดรุนแรง จะทำให้ต้นพริกชะงักการเจริญเติบโตหรือแห้งตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด

  1. เกษตรกรควรสุ่มสำรวจตรวจต้นพริก 100 ยอด ต่อไร่ ในทุกสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธีการเคาะลงบนแผ่นพลาสติกสีดำ
  2. ป้องกันกำจัดเมื่อพบเพลี้ยไฟพริกเฉลี่ยมากกว่า 5 ตัว ต่อยอด ในขั้นต้นควรเพิ่มความชื้นให้ต้นพริกด้วยการให้น้ำ อย่าปล่อยให้ต้นพริกขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ และเพลี้ยไฟพริกจะระบาดได้อย่างรวดเร็ว
  3. หากพบการระบาด สำหรับระยะก่อนให้ผลผลิต  ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ แมมมอท 30 ซีซี หรือ  ฟิพเปอร์ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร  และควรพ่นซ้ำตามการระบาด ส่วนพริกกำลังเก็บผลผลิตให้เกษตรกรใช้ ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ ฟิพเปอร์ 20-30 ซีซี หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 20 ซีซี หรือ เคาท์ดาว 20 ซีซี หรือ สตรัค 10 กรัม หรือ ไฮนิว 20  30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เท็นสตาร์ 10 ซีซี ขณะพ่นสารควรปรับหัวฉีดให้เป็นฝอยที่สุด และพ่นให้ทั่วตามส่วนต่างๆ ของพืชที่เพลี้ยไฟพริกอาศัยอยู่
  4. กรณีระบาดรุนแรงในช่วงสภาพอากาศแห้งแล้ง เกษตรกรควรพ่นปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยให้ต้นพริกฟื้นตัวจากอาการใบหงิกได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ ซีวิว 30 ซีซี + นีโอ-ไมเนอร์ 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง



วิธีสั่งของออนไลน์