เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย…โรคใบไหม้แผลใหญ่

ลักษณะอาการ

   ระยะแรกจะเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาลยาวไปตามใบ หัวท้ายเรียวคล้ายรูปกระสวย แผลมีขนาด 2-20 เซนติเมตร จะเกิดที่ใบล่างๆ ก่อนแล้วลุกลามไปยังใบบนทั่วต้นเมื่อมีอาการรุนแรงแผลจะขยายตัวรวมกันเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบไหม้และแห้งตายในที่สุด โรคนี้จะระบาดในที่ๆ มีความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 18-27 องศาเซลเซียส มักพบในฤดูหนาวทางภาคเหนือของประเทศไทย การแพร่กระจายของกลุ่มสปอร์จะปลิวไปตามลมหรือไปกับน้ำขยายพื้นที่ของการแพร่ระบาดได้ไกล เข้าทำลายต้นอื่นต่อไป โรคนี้พบได้ตลอดฤดูปลูก อาการของโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากปลูกข้าวโพดต่อเนื่องกันหลายครั้ง

การป้องกันกำจัด

   เกษตรกรต้องหมั่นตรวจดูข้าวโพดในแปลงตั้งแต่ยังเล็ก หากพบว่ามีต้นที่เป็นโรคให้รีบถอนออก รวมทั้งกำจัดเศษซากพืชออกไปนอกแปลง และป้องกันไม่ให้มีแหล่งสะสมเชื้อในบริเวณใกล้เคียง มีการเขตกรรมที่ดี หมั่นกำจัดวัชพืช ซึ่งจะเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคลงได้ไม่ควรปลูกข้าวโพดภายใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น เนื่องจากมีร่มเงาทำให้อากาศไม่ร้อนจัดและส่งเสริมให้เกิดโรคมากขึ้น ใช้สารเคมีฉีดพ่นบนใบ แบบสัมผัสที่ยูนิไลฟ์แนะนำ เช่น บิซโทร 300-400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร หรือ รัสโซล 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตรซึ่งฉีดพ่นได้ทุกระยะการเจริญของพืช อีกจำพวกหนึ่งเป็นแบบดูดซึม เช่น อะซอกซีสโตรบิน 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ไม่ควรใช้เกิน4ครั้งต่อฤดูปลูกมีความเสี่ยงเชื้อโรคอาจดื้อยา

เพิ่มเติม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้ คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง

ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น

  • ถ้าเกิดก่อนระยะออกไหม ผลผลิตมีโอกาสเสียหายมากกว่า 50%
  • ถ้าเกิดหลังจากออกไหม 6 สัปดาห์ ไม่กระทบต่อผลผลิต

ที่มา : โดย ผศ.ดร. พิสสวรรณ เจียมสมบัติ  ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน



วิธีสั่งของออนไลน์