เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

เตือนภัย โรคไหม้ข้าว

ลักษณะการเข้าทำลาย

ระยะกล้า ที่ใบมีแผลจุดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล มีขนาดแตกต่างไป ความกว้างระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร. และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร จุดแผลนี้สามารถขยายลุกลามจนแผลรวมกันทั่วบริเวณใบ ในกรณีที่โรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ (blast)

ระยะแตกกอ อาการของโรคพบได้ที่ใบ กาบใบ ข้อต่อของใบและข้อต่อของลำต้นขนาดของแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และใบมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะคอรวง ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อรานี้เข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว คอรวงจะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้เปราะหักพับง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การป้องกันกำจัด

     1)ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น 

  • ภาคกลาง ได้แก่ สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม คลองหลวง 1 พิษณุโลก 1
  • ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันปาตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโปร่งไคร้ น้ำรู (ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็นหรือเป็นดินหลังน้ำท่วม)
  • ภาคใต้ เช่น ดอกพะยอม

     2)หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควร  ใส่                  ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

     3)ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด และพบแผลโรคไหม้ ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่น

     4)สารป้องกันกำจัดที่ยูนิไลฟ์แนะนำ อะซอกซิสโตรบิน 50-100 ซีซี หรือ รัสโซล 100-150 ซีซี หรือ เบนเอฟ 200 ซีซี หรือ          ชีคไบท์ 300-400 ซีซี  ต่อน้ำ 200 ลิตร

เพิ่มเติม    เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรใช้  คัพเวอร์กรีน ใส่ก่อนผสมสารเคมีทุกครั้ง

     “น้ำกระด้างหาย แผ่กระจายซึมลึก ผนึกพลังจับติด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

แหล่งที่มา : กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://www.ricethailand.go.th/rkb3/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89.pdf

 

 

 



วิธีสั่งของออนไลน์