เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคกาบและใบไหม้ในข้าวโพด

ลักษณะอาการ

     โรคนี้เกิดจาก เชื้อรา Rhizoctonia  solani Kuhn. เกิดอาการได้ตั้งแต่ระยะกล้าทำให้ต้นเน่าหักพับล้มลง พบอาการได้ทั้งบนใบ กาบใบ ลำต้น กาบฝัก และฝัก ระยะข้าวโพดยังเล็กจะพบรอยฉ่ำน้ำบริเวณคอดิน อาการชัดเมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 40 วัน แผลจะเป็นรอยฉ่ำน้ำสีเขียวอมเทารูปร่างไม่แน่นอนบริเวณกาบใบล่าง ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนโดยมีขอบแผลสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบ ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีซีดจางคล้ายฟางข้าว เมื่อความชื้นลดลงเชื้อราจะหยุดเจริญเติบโต เมื่อมีความชื้นสูงแผลจะขยายไหม้ลามต่อไปทำให้เห็นเป็นวงๆซ้อนกัน อาการจะลุกลามจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน หากโรครุนแรงและสภาพแวดล้อมเหมาะสมโรคจะลุกลามขึ้นสู่โคนใบ ทำให้ใบไหม้ขยายไปตามทางยาวของใบ ใบที่เป็นโรคจะเห็นเป็นลายคราบตามขวางเป็นชั้นคล้ายคราบงู เข้าสู่กาบฝักและฝัก เห็นแผลซ้อนกันเป็นวง เมื่อแกะฝักออกจะพบว่าฝักไม่สมบูรณ์ เมล็ดลีบ เกสรตัวผู้แห้ง เมื่อต้นแก่ลอกกาบใบออกจะพบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม

ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม                                   แผลลุกลามเข้าใบ

แผลลุกลามจากบนลงล่าง                                   รอยแผลเป็นรอยขวางตามใบ

การแพร่ระบาด

     การระบาดของโรคเกิดโดยการสัมผัสของใบที่เป็นโรคกับส่วนต่างๆของต้นปกติ ใต้ใบบริเวณแผลจะเห็นเส้นใยอัดตัวเป็นเม็ดสเคลอโรเทีย (sclerotia) หรือเชื้ออยู่ในดินและซากหญ้า หรือพืชอาศัยใกล้เคียง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อเชื้อสาเหตุ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-100% ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 70% พบการเกิดโรคน้อย

อาจพบเส้นใยเชื้อราบนส่วนที่เป็นโรค

เชื้อราอัดตัวเป็นเม็ดสเคอโรเทีย

การป้องกันกำจัด

  1. ทำลายเศษซากข้าวโพดก่อนปลูกรอบใหม่ และไถพลิกดินตากแดดหลายๆ ครั้ง ปรับปรุงดินให้มีอินทรียวัตถุและมีการระบายน้ำดี
  2. ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่สมบูรณ์และปราศจากโรค
  3. ไม่ควรปลูกให้หนาแน่น และวางแนวแถวปลูกทิศทางเดียวกับลมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  4. หมั่นตรวจแปลงในระยะข้าวโพดอายุ 40-50 วัน เมื่อพบโรคระบาดให้ถอนและเผาทำลาย ในระยะออกฝัก หากพบฝักเป็นโรคมีเม็ดเชื้อราสาเหตุลักษณะคล้ายเม็ดผักกาด เมื่อเก็บไปทำลายพยายามอย่าให้เม็ดเชื้อราร่วงหล่นในแปลง
  5. ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัย (พืชอาศัยของโรคนี้ ได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วต่างๆ และอ้อย)
  6. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด แนะนำ ชีคไบท์ 300 ซีซี หรือ แซสซี่ 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์