เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคขอบใบแห้งในนาข้าว

เชื้อสาเหตุ : แบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al.

ลักษณะอาการ 

     เกิดได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ และจนถึงออกรวง โดยในระยะกล้าจะมีจุดเล็กๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทาๆ  ส่วนระยะ  1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง โดยขอบใบจะมีรอยขีดช้ำ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ที่แผลมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลมๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดไปตามน้ำหรือฝน ทำให้เกิดการระบาดของโรค ส่วนแผลจะขยายไปตามความยาวของใบ บางครั้งขยายเข้าไปข้างในตามความกว้างของใบ ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรคขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ในกรณีที่ต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรคและเชื้อโรคมีปริมาณมาก จะทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นอย่างรวดเร็ว เรียกอาการว่า ครีเสก (kresek)

การป้องกันและกำจัด

  1. ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น สุพรรณบุรี 60, สุพรรณบุรี 90, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 2, กข 7 และ กข 23
  2. ควรเฝ้าระวังในข้าวพันธุ์อ่อนแอ เช่น ขาวดอกมะลิ 105, กข 6, เหนียวสันป่าตอง, พิษณุโลก 2, ชัยนาท 1
  3. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากในดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว
  4. ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น
  5. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด แนะนำ

          การป้องกัน:   ไมโครบลูคอป 20 กรัม หรือ แอพโพช 15 ซีซี ต่อน้ำ  20  ลิตร

          การรักษา:    มิลล่า 30  ซีซี สลับ แอพโพช 20 ซีซี ต่อน้ำ  20  ลิตร  ควรฉีดพ่นสารสลับกันเพื่อป้องกันดื้อยา และการใช้สารรักษาโรค ร่วมกับ ยูแคลมิกซ์ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับต้นข้าว

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์