เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคดอกเน่าของดาวเรือง

เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกความชื้นสูง มักพบโรคดอกเน่าในดาวเรืองที่อยู่ในระยะออกดอกถึงระยะดอกบาน ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญและทำความเสียหายแก่ดอกดาวเรือง ทำให้ไม่สามารถเก็บดอกขายได้ โดยมีเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดอกเน่า ได้แก่ เชื้อรา Alternaria sp., Botrytis sp. , Colletotrichum sp.

ลักษณะอาการ

       เชื้อรา Alternaria sp. ดอกตูมจนถึงช่วงดอกกำลังพัฒนา เชื้อราเข้าทำลายก้านดอก กลีบเลี้ยง กลีบดอก ลักษณะไหม้เป็นสีน้ำตาล กลีบดอกช้ำ หรือดอกไหม้ แผลเน่าแห้ง มีผงเชื้อราปกคลุม ถ้าเชื้อเข้าทำลายช่วงดอกกำลังบานจะทำให้กลีบเลี้ยงเน่ารัดตัว ดอกไม่บาน หรือทำลายบริเวณฐานรองดอกข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้ดอกดาวเรืองบานแค่ครึ่งเดียว

      เชื้อรา Botrytis sp. เกิดขึ้นหลังดอกบานเต็มที่ บริเวณกลางดอกโคนกลีบดาวเรืองจะเริ่มมีแผลสีน้ำตาล และลามไปทั้งดอก ทำให้ดอกเน่าแฉะ ตอนเช้าอาจเห็นก้านชูสปอร์และสปอร์ของเชื้อราบริเวณแผล สปอร์สามารถปลิวไปตามลม ทำให้เกิดการระบาดทั่วแปลงได้

      เชื้อรา Colletotrichum sp. หากเกิดในระยะดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบานได้ หากทำลายระยะดอกบาน จะเน่าเป็นวงแหวนบริเวณกลางดอก ดอกที่เกิดโรคกลีบดอกจะเน่าเป็นสีน้ำตาลลามเข้าไปทางโคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น

การแพร่ระบาด

       สปอร์ของเชื้อราจะติดไปกับเมล็ดพันธุ์ ปลิวไปตามลม และแพร่กระจายไปกับน้ำที่รด หรือกระเด็นไปกับน้ำฝน พบการเกิดโรคตลอดปี จะทำความเสียหายในฤดูฝนช่วงความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด

   1. สำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เก็บเศษซากที่เป็นโรคทำลายทิ้งนอกแปลง

   2. ระมัดระวังการให้น้ำ อย่าให้ชุ่มมากจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีอากาศร้อน นอกจากนี้ในแปลงปลูกหากสามารถใช้ระบบน้ำหยด จะสามารถลดการเปียกของต้น ทำให้ลดการระบาดของโรคได้เป็นอย่างมาก

   3. ปรับปรุงดินด้วย ยูโอนิกซ์ 30 ซีซี + คริสตัล 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้นทุก 7-10 วัน เพื่อทำให้พืชมีความสมบูรณ์แข็งแรง

   4.บำรุงดูแลให้พืชแข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยลดการเกิดโรค แนะนำ แคลเคลียร์ 20 ซีซี หรือ นีโอ-ไฮแคล 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

   5 ถ้าระบาดมาก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่ยูนิไลฟ์ แนะนำ บิซโทร 40 กรัม หรือ เบนเอฟ 20 ซีซี หรือ แซสซี่ 10 ซีซี หรือ อินดีฟ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

ที่มา : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย



วิธีสั่งของออนไลน์
deneme bonusu veren siteler deneme bonusu
tuzla escort maltepe escort ataşehir escort kadıköy escort anadolu yakası escort ataşehir escort pendik escort kurtköy escort kartal escort kadıköy escort maltepe escort kartal escort deneme bonusu escort bayan ataşehir escort