เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคถอดฝักดาบในข้าว

เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg

ลักษณะอาการ

     พบโรคในระยะกล้า ถ้าอาการรุนแรงต้นกล้าจะแห้งตาย แต่มักพบในข้าวอายุเกิน 15 วัน ระยะเริ่มแตกกอ ข้าวที่เป็นโรคจะมีอาการต้นผอมสูงเด่นกว่าต้นข้าวทั่วๆไป นอกจากนี้ต้นข้าวจะมีสีเขียวอ่อนซีด มักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้อง แต่รากจะเน่าช้ำ เวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงอาการหลังจากย้ายไปปักดำ 15-45 วัน และเกิดรากแขนงที่ข้อลำต้นตรงระดับน้ำ บางครั้งพบเส้นใยสีชมพูตรงบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะตาย และมีน้อยมากที่อยู่รอดจนถึงออกรวง

ต้นข้าวเป็นโรคจะผอมสูง สีเขียวอ่อนซีดกว่าข้าวทั่วไป

เชื้อราเกิดที่ข้อของต้นข้าว

การแพร่ระบาด

     เชื้อราจะติดไปกับเมล็ด สามารถมีชีวิตในซากต้นข้าวและในดินได้เป็นเวลาหลายเดือน และหญ้าชันกาดเป็นพืชอาศัยของโรค

การป้องกันกำจัด

  1. หลีกเลี่ยงการนำเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เคยเป็นโรคระบาดมาปลูก
  2. คลุกเมล็ดหรือแช่เมล็ดเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนนำเมล็ดไปหว่าน

          – คลุกเมล็ดแนะนำ ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 30 กรัม ต่อเมล็ด 10 กิโลกรัม

          – แช่เมล็ดด้วย ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

  1. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดฉีดพ่นทางใบ แนะนำ มิลล่า 30 ซีซี หรือ อินดีฟ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. ควรถอนและเผาต้นที่เป็นโรคทิ้ง เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปตกบนรวงข้าวอื่นได้

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์