เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคยางไหล ในพืช ตระกูลส้ม

       อาการยางไหล บริเวณกิ่งและโคนต้นซึ่งพบมากในส้มโอและมะนาวนั้น มีความสัมพันธ์กับโรคทริสเตซ่าซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และมักจะพบ เชื้อรา Botryodiplodia sp. ร่วมกับการขาดธาตุอาหารบางชนิด

  

         โคนต้นจะเห็นเป็นแผลแตกแห้งแข็ง มีน้ำยางออกมาเคลือบติดบนผิวของเปลือกลำต้น ส่วนใหญ่จะพบอาการยางไหลบริเวณโคนต้นหรือตามง่ามกิ่ง เปลือกบริเวณที่มียางไหลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลส่วนอาหารที่กิ่งมักจะพบปลายกิ่งแห้งเป็นสีน้ำตาลลามจากยอดลงมาเชื้อราที่ทำให้เกิดยางไหลนี้สามารถทำให้ผลส้มเน่าได้ ในกรณีที่เกิดกับผลที่อยู่บนต้น ผลส้มจะหลุดร่วง มักพบจุดสีดำเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กๆ บนแผลเน่า

  

         โรคยางไหล เกิดขึ้นจากการขาดธาตุอาหาร เช่น ธาตุโบรอน(B) และธาตุทองแดง(Cu) จะสังเกตได้ว่าส้มเกิดยางไหลตามลำต้นและกิ่งก้านทั่วๆ ไป ไม่จำกัดที่และไม่มีบาดแผลสีน้ำตาลดำ พบเพียงรอยแตกปริ ของเปลือกขนาดเล็กๆ แล้วจึงมียางไหลออกมา แผลที่ยางไหลออกมาแล้วไม่ขยายลุกลาม นอกเสียจากว่ามีเชื้อเข้าทำลายซ้ำเติมตามรอยปริเล็กๆ นั้น

โรคยางไหล ที่เกิดจากมีแมลงเจาะกัดกิน สังเกตได้โดยบริเวณที่มียางไหลจะมีร่องรอยของการเจาะกัดกิน หรือทำลายของแมลงหรืออาจมีสิ่งขับถ่ายติดปะปนอยู่กับยางที่ไหลออกมา

แนวทางการแก้ไข

● หลังตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค ตัด เฉือน ถากส่วนเปลือกของกิ่งและต้นที่เป็นโรค จากนั้นทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สับรา 30 กรัม ร่วมกับ ซีวิว 30 ซีซี และ นีโอ-ไมเนอร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

  

โรคยางไหลที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารสามารถรักษาได้โดยการฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมให้ทางใบ ไมโครบลูคอป 20 กรัม + นีโอ-ไฮแคล 20 ซีซี + ซีวิว 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพราะต้นส้มที่ให้ผลผลิตแล้วมีความต้องการแร่ธาตุอาหารหลายชนิดเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต

โรคยางไหล ที่เกิดจากแมลงทำลายกลายเป็นแผล ควรรีบกำจัดแมลง ด้วย ฟิพเปอร์ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วจึงทายารักษาบาดแผล ด้วย สับรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

  



วิธีสั่งของออนไลน์