เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคราน้ำค้างพืชตระกูลแตง

เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Pseudoperonospora  cubensis

ลักษณะอาการ

     โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง (แตงกวา แตงโม แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ) มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน แล้วขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน เริ่มแรกใบปรากฏอาการแผลฉ่ำน้ำ และแผลจะขยายตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็นเป็นรูปเหลี่ยมเล็กๆ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในตอนเช้าที่มีสภาพอากาศชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาที่แผลบริเวณใต้ใบ แผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น พืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพผลลดลง หากเป็นโรคระยะผลอ่อนจะทำให้ผลลีบเล็กและบิดเบี้ยว

การแพร่ระบาด

    สภาพอากาศที่เหมาะสมคือช่วงอากาศเย็น อุณหภูมิ 16-27 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูงมากกว่า 86% ขึ้นไป

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีปราศจากโรค
  2. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดในน้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที
  3. ไม่ปลูกพืชระยะชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง
  4. หมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี
  5. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มมีโรคควรรักษาทันที และการป้องกันควรทำหลังจากต้นแตงเกิดใบจริงแล้ว 2-5 ใบ โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

     ป้องกัน: ไมโครบลูคอป 20 กรัม หรือ เบนเอฟ 20 ซีซี หรือ บิซโทร 50 กรัม

     รักษา: แซสซี่ 10 ซีซี หรือ ซับลา 30 กรัม หรือ ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

  1. แปลงที่เป็นโรคควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น
  2. แปลงที่ระบาดรุนแรง หลังเก็บเกี่ยวให้นำซากพืชทำลายนอกแปลง และสลับปลูกพืชหมุนเวียน

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์