เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคใบจุดสาหร่ายหรือใบจุดสนิมทุเรียน

เชื้อสาเหตุ สาหร่ายสีเขียว Cephaleuros  virencens Kunze และ Cephaleuros  solutus Karsten

ลักษณะอาการ

            มักเกิดบนใบแก่  ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ นูนขึ้นจากผิวใบเล็กน้อย  ขอบของจุดเป็นแฉกๆ ไม่เรียบ สีเขียวปนเทา หากความชื้นสูงและได้รับแสงแดดเพียงพอ จุดจะขยายใหญ่ขึ้น เมื่อสาหร่ายแก่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ายสีสนิมหรือน้ำตาลแดง ฟูเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ เป็นระยะที่สาหร่ายสร้างสปอร์เพื่อขยายพันธุ์และแพร่ไปยังส่วนอื่นๆ ของต้น ใต้ใบบริเวณที่เกิดจุดนูน จะมีสีเขียวอ่อนจาง เนื่องจากเนื้อเยื่อเสียหาย อาจพบอาการบนก้านและกิ่ง หากรุนแรงเปลือกจะแตกและแห้งทำให้กิ่งแห้งและทรุดโทรม

            โรคนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายโดยตรง แต่บดบังพื้นที่ในการสังเคราะห์แสง กระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช หากระบาดรุนแรงใบจะซีดเหลืองและแห้งตายได้ โดยเฉพาะต้นทุเรียนเล็กอายุ 1 – 2 ปี ที่ทรงพุ่มทึบและได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึง จะเกิดความเสียหายได้

การป้องกันกำจัด

  1. กำจัดวัชพืชในแปลง และ ตัดแต่งทรงพุ่ม เพื่อให้อากาศถ่ายเทดี ช่วยลดความชื้น
  2. หากเริ่มพบอาการของโรค ให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทำลายทิ้งนอกแปลง
  3. ฉีดพ่นสารเคมี ใช้ ไมโครบลูคอป  20  กรัม หรือ เบนเอฟ  20  ซีซี  ต่อน้ำ  20  ลิตร

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife

แหล่งข้อมูล: โรคทุเรียน กรมวิชาการเกษตร



วิธีสั่งของออนไลน์