เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

โรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่

เชื้อสาเหตุ: เชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ Colletotrichum sp. 

ลักษณะอาการ

     เริ่มแรกจะเกิดจุดช้ำใต้ใบ ด้านบนของบริเวณเดียวกันเป็นสีเหลือง (chlorosis) ขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีคล้ำ ขอบแผลดำ และกลายเป็นเนื้อเยื่อแห้ง (necrosis)  สีน้ำตาลจนถึงสีขาวซีด รูปร่างจุดแผลค่อนข้างกลม รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ จำนวนแผลมากกว่า 1 จุด ขนาด 0.5-3 เซนติเมตร อาจซ้อนกันเป็นแผลขนาดใหญ่ เมื่อกาการรุนแรงใบจะเหลืองและร่วง ผลผลิตลดลงมากกว่า 50%

การแพร่ระบาดของโรค

     มักระบาดช่วงที่มีความชื้นสูงในระยะใบแก่ และพันธุ์ยางทุกพันธุ์อ่อนแอต่อการเกิดโรค เชื้อสาเหตุสามารถแพร่กระจายโดยลม ฝน การเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์หรือวัสดุปลูกในแปลง

เริ่มแรกเกิดจุดช้ำใต้ใบ

ลักษณะแผลบนใบ

เมื่ออาการรุนแรงใบจะเหลืองและหลุดร่วง

อาการรุนแรงใบร่วงได้ทั้งต้น ผลผลิตลดลงมากกว่า 50%

การป้องกันกำจัด

     1. ใส่ปุ๋ยบำรุงสม่ำเสมอเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับต้นยาง สามารถสร้างใบใหม่ออกมาทดแทนใบยางที่ร่วงได้รวดเร็ว
     2. หมั่นสำรวจสม่ำเสมอ หากพบต้นยางมีทรงพุ่มไม่สดชื่น ใบเหลือง ให้ตรวจสอบอาการของโรคบนใบและใบที่ร่วง
     3. กำจัดใบยางที่เป็นโรคและวัชพืชในแปลง เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุของโรค
     4. หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุปลูกและท่อนพันธุ์จากแหล่งที่เกิดการระบาด
     5. ใช้สารเคมีควบคุมโรค

          5.1 การใช้สารทางใบ

          ป้องกัน: คัพเวอร์กรีน 100 ซีซี + (ไดเมโทมอร์ฟ+แมนโคเซบ 300 กรัม หรือ เบนเอฟ 300 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร

          กำจัด: คัพเวอร์กรีน 100 ซีซี + (แอพโพช 150 ซีซี หรือ คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 300 ซีซี หรือ รัสโซล 150 ซีซี) ต่อน้ำ 200 ลิตร

          ** การใช้สารฉีดพ่นพุ่มใบยางจากใต้ทรงพุ่ม อัตราพ่นสาร 100 ลิตร/ไร่ ควรพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-15 วัน

          5.2 การใช้สารทางดิน

          เมื่อเริ่มมีใบร่วง ควรฉีดพ่นลงดิน  2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-15 วัน  เมื่อการระบาดของโรคหยุดลง ควรพ่นทางดินทุกๆ 2 เดือน เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดซ้ำ

          ใช้ ยูโอนิกซ์ 300 ซีซี + นีโอ-ไฟต์ 300 ซีซี + คลอโรทาโลนิล+อะซอกซีสโตรบิน เอสซี 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร (อัตราพ่นสาร 10-20 ลิตร/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดต้น)

แหล่งข้อมูล: สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย / ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร/ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

ที่มาภาพ: สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์