เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
สาระน่ารู้ข่าวสาร

หนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน

     ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน (Batocera rufomaculata De Geer)  ตัวเต็มวัยสีน้ำตาล มีจุดสีส้มหรือเหลืองกระจายอยู่ทั่วปีก เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัว เพศเมียหนวดเท่ากับหรือสั้นกว่าลำตัว จับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลากลางคืน โดยใช้ปากที่มีเขี้ยวแข็งแรงขนาดใหญ่กัดเปลือกไม้เพื่อวางไข่แล้วกลบด้วยขุยไม้ ชอบวางไข่ซ้ำบนต้นเดิม ไข่คล้ายเมล็ดข้าวสารสีขาวขุ่น หนอนที่ฟักใหม่จะมีสีขาวครีม

 

ระยะตัวเต็มวัย

 

ระยะไข่ (7-14 วัน)

 

ระยะหนอน (280 วัน)

 

ระยะดักแด้ (24-29 วัน)

ลักษณะการทำลาย

     ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชใต้เปลือกไม้ และถ่ายมูลออกมาเป็นขุยไม้ติดอยู่ภายนอก อาจควั่นรอบต้น ทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ต้นทุเรียนทรุดโทรมและยืนต้นตายได้ ตัวเต็มวัยมีอายุได้นานกว่า 6 เดือน ทำ ในต้นหนึ่งๆ จึงพบไข่และหนอนระยะต่างๆ กันเป็นจำนวนมาก สวนที่มีการระบาดรุนแรงพบหนอนด้วงหนวดยาววัยต่างๆ ในต้นทุเรียน เฉลี่ย 40-50 ตัวต่อต้น

 

 

 

 

รอยทำลายท่อน้ำท่ออาหาร หากเกิดรุนแรงจะทำให้ต้นโทรมยืนต้นตายได้

 

การป้องกันกำจัด

  1. วางกับดักแสงไฟล่อแมลงตั้งแต่ 19.00 น. เป็นต้นไป
  2. ใช้ตาข่ายตาถี่พันหลวมๆ รอบต้น จากส่วนโคนต้นถึงกลางลำต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ด้วงหนวดยาวชอบเจาะและทำลาย ด้วงจะติดตาข่าย ไม่สามารถหลุดออกได้และแห้งตายติดกับข่ายในที่สุด
  3. สังเกตรอยแผลการวางไข่ การทำลายของหนอน หรือรอยขุยไม้ตามลำต้น หากพบให้เก็บไปทำลายทิ้งนอกแปลง
  4. เมื่อพบอาการให้เปิดแผลแล้วใช้สารเคมีกำจัด

    แนะนำ คัพเวอร์กรีน 10 ซีซี + (ฟิพเปอร์ 50 ซีซี หรือ ไซปรอย35 20 ซีซี) + ซีวิว 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณลำต้น ทำบ่อยๆสัก 3-4 ครั้ง ทุก 7-10 วัน โดย ซีวิว จะช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ที่ถูกทำลาย 

  1. ตัดและเผาทำลายต้นทุเรียนที่ตายหรือต้นที่มีหนอนเข้าทำลายมากจนไม่สามารถให้ผลผลิตได้    เพื่อลดประชากรแมลงและแหล่งแพร่กระจายพันธุ์

 

แหล่งข้อมูล: สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

            ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านการอารักขาพืช จังหวัดสงขลา

สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife



วิธีสั่งของออนไลน์