ช่วงฤดูร้อนผู้ปลูกมะเขือเปราะมักพบปัญหาแมลงเข้าทำลาย ทำให้พืชได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแมลงสำคัญที่พบการระบาดในฤดูร้อน 3 ชนิด ได้แก่
- เพลี้ยไฟฝ้าย (Thrips palmi Karny) เป็นแมลงขนาดเล็ก ทำลายพืชโดยใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช หากทำลายใบจะทำให้มีรอยแผลสีน้ำตาล ใบแห้ง ยอดแห้ง ตาอ่อนไม่เจริญ หากเข้าทำลายดอกจะทำให้ดอกร่วงได้ เพลี้ยไฟฝ้ายชอบหลบซ่อนอยู่ใต้กลีบเลี้ยงที่ขั้วผล ทำให้ขั้วผลมีสีน้ำตาล ขั้วย่น มีริ้วรอยเป็นทาง หรือที่เรียกอาการขี้กลาก ขายไม่ได้ราคา หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลร่วงได้
เพลี้ยไฟฝ้ายเข้าทำลาย ใบ ดอก และผลมะเขือ
- ไรแดง (Tetranychus) เป็นแมลงขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายแมงมุม จะอาศัยอยู่บริเวณเส้นใบ ใต้ใบมะเขือ และดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบเป็นจุดด่างเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และมีสีเงินเคลือบ ใบงองุ้ม ต้นชะงักการเจริญเติบโต ใบและยอดแคระแกร็น กระทบการออกดอกและสร้างผลผลิต
- หนอน ชนิดสำคัญที่เข้าทำลายมะเขือ ได้แก่ หนอนเจาะผลมะเขือ (Leucinodes orbonalis Guenee) หนอนเจาะสมอฝ้าย (Helicoverpa armigera (Hübner)) และหนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura Fabricius) โดยตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ วางไข่บริเวณยอดหรือขั้วผล เมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะเข้าทำลายส่วนต่างๆของพืช หากกัดกินปลายยอดจะทำให้ยอดเหี่ยว ไม่ออกดอก และเจาะเข้าทำลายผลทำให้เสียคุณภาพ หากระบาดรุนแรงจะทำให้ผลผลิตเสียหายมาก ขายไม่ได้
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจแปลงทุกสัปดาห์ และเพิ่มความชื้นในแปลงเพื่อลดการระบาดของแมลง
- หากพบการเข้าทำลายยอดรุนแรงจนเกิดอาการยอดแห้งแคระแกร็น ให้ตัดส่วนที่เสียหายทำลายทิ้งนอกแปลง และกระตุ้นการเกิดยอดใหม่
- หากพบตัวหนอนหรือกลุ่มไข่ให้เก็บทำลายทิ้งนอกแปลง
- หากเริ่มพบผีเสื้อตัวเต็มวัยของหนอน แนะนำ วอเดอร์ 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยคุมไข่ ลดการวางไข่ของตัวเต็มวัย ลดการระบาดของหนอนในแปลง
- หากพบการระบาด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดตามชนิดศัตรูพืช
เพลี้ยไฟ : เคาท์ดาว 20 ซีซี สลับ ฟิพเปอร์ 10 ซีซี สลับ เท็นสตาร์ 10 ซีซี สลับ คอลลิ่ง 20 ซีซี สลับ ไฮ-นิว20 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ไรแดง : ไพริดาเบน 10 กรัม สลับ ไมท์เทรด 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
หนอน : วอเดอร์ 30 กรัม + (คอลลิ่ง 20 ซีซี สลับ ฟิพเปอร์ 30 ซีซี) ต่อน้ำ 20 ลิตร
** วอเดอร์ เท็นสตาร์ ฟิพเปอร์ ไพริดาเบน ปลอดภัยต่อดอก**
แหล่งข้อมูล: กลุ่มบริหารศัตรูพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานยูนิไลฟ์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ยูนิไลฟ์ สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ 02-399-5555 หรือ ไอดีไลน์ @unilife