เพิ่มสินค้าสำเร็จ!
ไม่สามารถเพิ่มสินค้าได้!
ติดต่อเรา

คำถามที่พบบ่อย (ด้านการเกษตร)

A : การทำเกษตรยุคใหม่แบบยูนิไลฟ์ไม่ยากค่ะ ศึกษาพฤติกรรมของพืชนั้นๆ ก่อนเริ่มลงมือทำ สำหรับความจำเป็นของการใช้สารเคมีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่า ปลูกจำนวนมาก-น้อยแค่ไหน หากปลูกแบบสวนครัว รั้วกินได้ ก็ขอแนะนำให้ใช้วิธีดูแลแบบธรรมชาติ บำรุงด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก กำจัดแมลงและโรคด้วยการริดใบทิ้ง หรือ จับด้วยมือ ถ้ามีทุนหน่อยก็ปลูกพืชกางมุ้ง แต่ถ้าหากปลูกพื้นที่มากๆเพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจ ขอแนะนำว่าต้องบำรุงด้วยปุ๋ยเคมี(ปุ๋ยคลุกด้วย“ยูโอนิกซ์”จะช่วยบำรุงดินให้ดีขึ้นในระยะยาว ช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยจากการถูกยึดจับในดิน จึงทำให้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป) ส่วนการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์แต่ละตัวว่าใช้กับศัตรูพืชชนิดใด อัตราเท่าไร และควรเว้นระยะการฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว(ค่าPHI)เท่าไร จึงปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ศึกษาเพิ่มเติมในเวปไซต์หรือผู้สปอนเซอร์ของท่านเพิ่มเติม

A : ยาร้อนตามแบบเกษตรที่เข้าใจง่ายๆก็คือ สารอะไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสารป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช กำจัดวัชพืช เปิดตาใบ ที่สามารถทำให้พืชเป็นพิษได้ เช่น ไหม้ ดอกร่วง ผิวด้าน กลีบดอกไหม้ ชะงักการเจริญเติบโต ส่วนยาเย็น คือสารที่ใช้ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืช โดยเฉพาะระยะที่พืชกำลัง แตกใบอ่อน แตกตาดอก ติดผลอ่อน สำหรับผลิตภัณฑ์ยูนิไลฟ์สามารถใช้ได้ตามคำแนะนำที่ฉลากข้างขวด เทคนิคพืช หรือ ศึกษาจากเวปไซต์ในเรื่อง องค์ความรู้ในพืชนั้นๆ

A : การเว้นระยะก่อนการเก็บเกี่ยว (pre-harvest interval) PHI คือ ระยะเวลาตั้งแต่ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชครั้งสุดท้ายจนถึงวันเก็บเกี่ยว หรือระยะหยุดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนเก็บเกี่ยว เนื่องจากสารเคมีบางชนิดมีคุณสมบัติความ คงทนสูง มีการตกค้างอยู่ในพืชได้นานหลังจากการฉีดพ่น อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ดังนั้นเกษตรกรไม่ควรฉีดพ่นสารเคมี ในระยะเวลาที่ใกล้เก็บเกี่ยว ถ้าจำเป็นต้องพ่นสารเคมีควรเลือกใช้สารเคมีที่สลายตัวได้เร็ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทสารเคมีที่ใช้ และชนิดของพืช ยกตัวอย่างเช่น ควรหยุดพ่น “ เคาท์ดาว”ครั้งสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวพริกเป็นเวลา 7 วัน (PHI = 7 วัน) ดังนั้น สิ่งที่เกษตรกรควรปฏิบัติ คือ ทำตามคำแนะนำบนฉลากเกี่ยวกับระยะเวลาระหว่างฉีดพ่นสารเคมีครั้งสุดท้ายก่อนการเก็บเกี่ยว และอย่าทำการเก็บเกี่ยวพืชภายในระยะเวลาที่แนะนำ โดยให้เว้นตามที่ระบุไว้บนฉลาก(ศึกษาคู่มือผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติม)

A : การผสมสารที่ถูกต้องควรปฏิบัติ ตามขั้นตอน ดังนี้

1.เลือกน้ำฝน (น้ำไม่กระด้าง)

2.เทน้ำลงถังผสม 2 ใน 3 ส่วน (15-18 ลิตร)

3.เทสารสูตรน้ำ (SL) ลงไปก่อน แล้วคน

4.เทสารสูตรน้ำมัน (EC) ลงไปแล้วคน

5.เทสารสูตรผง (WP) ลงไปแล้วคน

6.เติมปุ๋ย +ธาตุอาหารอื่นๆ คนให้เข้ากัน

7.เติมสารเสริมประสิทธิภาพ “คัพเวอร์” เป็นลำดับที่สุดท้าย

8.เติมน้ำจนครบ 20 ลิตร คนอีกครั้ง แล้วนำไปฉีดพ่น

A : สารกำจัดแมลงแต่ละตัวจะมีความสามารถเฉพาะเจาะจง และพอกำจัดได้ปานกลางในแมลงชนิดอื่นๆดังนั้นจะมีการอัตราคำแนะนำที่ต่ำ-สูง ในกรณีเป็นการป้องกันให้ใช้อัตราต่ำ แต่ในกรณีที่มีการระบาดรุนแรงให้ใช้อัตราสูง  และไม่ควรใช้สารมากกว่า 2 ชนิดมาบวกกันในอัตราต่ำเพื่อกำจัด เพราะจริงๆแล้วจะทำให้เกิดปัญหาการดื้อต่อสารทั้งสองชนิด ควรใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งในอัตราสูงก่อนและตรวจดูว่าแมลงยังระบาดอยู่หรือไม่ จึงใช้สารตัวที่ 2 ซึ่งควรจะเป็นคนละกลุ่มสารกับสารตัวแรกเพื่อป้องกันการดื้อต่อสารในอนาคต

A : ไม่แนะนำค่ะ การพ่นสารทางใบหากพ่นสารซ้ำพื้นที่เดิม อาจเกิดปัญหาสารเข้มข้นเกินไปทำให้ใบพืชไหม้ได้  ห้ามเทสารที่เหลือลงน้ำเพราะป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิดเป็นพิษต่อปลา ควรนำสารที่เหลือไปพ่นพืชที่มีระยะเดียวกัน ในพื้นที่ที่ยังไม่ได้พ่นสาร

A : อันดับแรกต้องรู้ว่าเพื่อนบ้านพ่นสารอะไร ถ้าเป็นกลุ่มอามีทรีน อาทราซีน แล้วโดนต้นพริกเราไม่รุนแรงนัก ดูรากและใบ หากยังถูกทำลายไม่มาก สามารถแก้ไขได้ ด้วยการฉีด ซีวิว นีโอ-ไมเนอร์ ยูนิฟอสเอ็น คัพเวอร์  ให้พริกสัก 1-2 ครั้ง จะช่วยให้พริกฟื้นตัวกลับมาให้ผลผลิตได้ค่ะ

A : ไม่แนะนำค่ะ แนะนำให้  ตักน้ำใส่ถัง200 ลิตรแล้วใช้สารส้มกวนตะกอนให้ตกลงไปก้นถังแล้วใช้น้ำใสมาผสม “เบิร์นอัพ48” จะมีประสิทธิเต็มสูตร ตายถึงรากถึงโคน ตามคุณสมบัติของสาร


วิธีสั่งของออนไลน์